สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์


สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

          ยุพิน พิพิธกุล (http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
          1.ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
          2.เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
          3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
          4.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
          5.เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
          6.การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
1.วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู
ค. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟีล์มสตริป
ง. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ก สไลด์ ฟีล์ม ฯลฯ
2.อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่นโปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟีล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ
3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา
4.สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น

         สมชาย ลีลานิตย์กุล (
http://teaching-maths3.blogspot.com/2010/07/blog-post_1999.htmlได้ให้แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
1.ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
2.ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
4.การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
5.การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
6.ก่อนการผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (http://202.151.176.107:8080/public/education.do.) กล่าวไว้ว่า
1) คุณค่าของสื่อ อุปกรณ์การศึกษา สื่อการศึกษามีคุณค่าและประโยชน์ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอน (กิดานันท์  มลิทอง,  2536)  สื่อการศึกษามีประโยชน์ดังนี้ คือ
 (1) สื่อการศึกษาจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น  และสามารถช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
          (2) สื่อการศึกษาจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน  ทำให้เกิดความสนุกและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน
          (3) การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน  และเกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียนนั้น
          (4) ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น  ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย
          (5) ช่วยสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้   ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านั้น
          (6) ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล
อย่างไรก็ตาม  สื่อการสอนจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อผู้สอนได้นำไปใช้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี ดังนั้น ผู้สอนจึงควรจะได้ศึกษาถึงลักษณะและคุณสมบัติของสื่อการสอน  ข้อดีและข้อจำกัดอันเกี่ยวเนื่องกับตัวสื่อและการใช้สื่อแต่ละอย่าง  ตลอดจนการผลิตและการใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนด้วย  ทั้งนี้เพื่อให้การจัดกิจกรรมการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้
2) การเลือกใช้สื่อการศึกษา หลักการเลือกสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพต้องเลือกให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้สื่อการศึกษานั้น ผู้สอนควรจะต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในเรื่องต่างๆ ดังนี้ (กิดานันท์  มลิทอง :2536)  ได้แก่
          (1) วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม และจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
          (2) จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ประกอบหรือร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อใช้นำบทเรียน  ใช้ในการประกอบคำอธิบาย  ใช้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ผู้เรียน  หรือใช้เพื่อสรุปบทเรียน
          (3) ต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของสื่อชนิดต่างๆ  แต่ละชนิดว่า  สามารถเร้าความสนใจและให้ความหมายต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนอย่างไรบ้าง  เช่น  หนังสือเรียนและสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ ใช้เป็นความรู้พื้นฐานและอ้างอิง  ของจริงและของจำลองใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง แผนภูมิ แผนภาพและสถิติ ใช้เพื่อต้องการเน้นหรือเพื่อแสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบหรือเปรียบเทียบข้อมูล  สไลด์และฟิล์มสทริปใช้เพื่อเสนอภาพนิ่งขนาดใหญ่ให้ผู้เรียนเห็นทั้งชั้นหรือใช้เพื่อการเรียนรายบุคคลก็ได้  เหล่านี้ เป็นต้น
          (4) ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา  สื่อบางอย่างจะคุ้มค่าในการผลิตเองหรือไม่  หรืออาจหายืมได้ที่ไหนบ้าง

สรุป
ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
1.วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์
ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง
ค. วัสดุถาวร ไ
ง. วัสดุสิ้นเปลือง
2.อุปกรณ์
3. กิจกรรม
4.สิ่งแวดล้อม
แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์
1.ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
2.ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
4.การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
5.การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
6.ก่อนการผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ
คุณค่าของสื่อ สื่อการศึกษามีประโยชน์ดังนี้ คือ
 (1) สื่อการศึกษาจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
          (2) สื่อการศึกษาจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน 
          (3) การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน 
          (4) ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น 
          (5) ช่วยสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้  
          (6) ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
การเลือกใช้สื่อการศึกษา หลักการเลือกสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพต้องเลือกให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้สื่อการศึกษานั้น ผู้สอนควรจะต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในเรื่องต่างๆ ได้แก่
          (1) วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม และจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
          (2) จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ประกอบหรือร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อใช้นำบทเรียน  ใช้ในการประกอบคำอธิบาย  ใช้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ผู้เรียน  หรือใช้เพื่อสรุปบทเรียน
          (3) ต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของสื่อชนิดต่างๆ  แต่ละชนิดว่า  สามารถเร้าความสนใจและให้ความหมายต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนอย่างไรบ้าง
          (4) ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา  สื่อบางอย่างจะคุ้มค่าในการผลิตเองหรือไม่  หรืออาจหายืมได้ที่ไหนบ้าง

ที่มา
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.  (2557). http://202.151.176.107:8080/public/education.do. 
[ออนไลน์].  เข้าถึงเมื่อวันที่  1 สิงหาคม 2561.
ยุพิน พิพิธกุล.  (2557).  http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html.  
[ออนไลน์].  เข้าถึงเมื่อวันที่  1 สิงหาคม 2561.
สมชาย ลีลานิตย์กุล.  (2557).  http://teaching-maths3.blogspot.com/2010/07/blog-
post_1999.html. [ออนไลน์].  เข้าถึงเมื่อวันที่  1 สิงหาคม 2561.



ความคิดเห็น